ผู้คิดและผู้พิสุจน์ – เราเชื่ออย่างไรความจริงก็จะเป็นอย่างนั้น

ผู้คิดและผู้พิสุจน์ – เราเชื่ออย่างไรความจริงก็จะเป็นอย่างนั้น

บทความต่อไปนี้สรุปจากบทแรกของหนังสือ Prometheus Rising ของ Robert Anton Wilson ว่าด้วยเรื่องที่ว่าเมื่อเราเชื่ออย่างไรตัวเราก็จะพยายามพิสุจน์ให้ได้ว่ามันเป็นจริงตามที่เราเชื่อนั้น วิลเลียม เจมส์ บิดาแห่งจิตวิทยาอเมริกัน เคยเล่าว่าเขาเคยพบกับหญิงชราคนหนึ่ง เธอเล่าให้เขาฟังว่าโลกใบนี้ตั้งอยู่บนหลังของเต่าตัวมหึมา “แต่คุณยายครับ” ศาสตราจารย์เจมส์ถามอย่างสุภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้ “อะไรหนุนเต่านะครับ?” “อ้อ ง่ายนิดเดียว มันยืนอยู่บนหลังเต่าอีกตัวหนึ่งไง” เธอกล่าว “อ๋อ เข้าใจแล้วครับ” ศาสตราจารย์เจมส์กล่าวอย่างสุภาพเช่นเคย “แต่คุณยายจะกรุณาบอกผมได้ไหมว่าอะไรหนุนเต่าตัวที่สอง?” “ไร้ประโยชน์ที่จะเถียงค่ะ ศาสตราจารย์” หญิงชราตอบ ตระหนักว่าเขาพยายามนำเธอเข้าสู่กับดักตรรกะ “มันก็อยู่หลังเต่าตัวอื่นต่อไปไปเรื่อยๆ นั่นแหละ!” แต่อย่าหัวเราะแก่หญิงชราคนนี้เร็วเกินไป จิตใจของมนุษย์ทุกคนทำงานบนหลักการพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน โลกของเธอน่าแปลกกว่าคนอื่นเล็กน้อย แต่ถูกสร้างขึ้นบนหลักการทางจิตใจเดียวกันกับจักรวาลอื่นๆ ที่ผู้คนเชื่อถือกัน ดังที่ ดร. ลีโอนาร์ด ออร์ร (Leonard Orr) เคยกล่าวไว้ว่า จิตใจมนุษย์ทำงานราวกับแบ่งเป็นสองส่วน: “ผู้คิด” (Thinker) และ “ผู้พิสูจน์” (Prover) ผู้คิดสามารถคิดเกี่ยวกับทุกสิ่งได้เกือบทั้งหมด ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามันสามารถคิดได้ว่าโลกถูกแบกไว้บนหลังเต่าแบบไม่มีที่สิ้นสุด หรือโลกเป็นโพรง หรือโลกกำลังลอยอยู่ในอวกาศ ศาสนาเปรียบเทียบและปรัชญาแสดงให้เห็นว่าผู้คิดสามารถมองตัวเองเป็นสิ่งที่เกิดตาย เป็นอมตะ เป็นทั้งเกิดตายและอมตะ…